Data Center
การพัฒนาระบบไอทีขององค์กรในปัจจุบัน จึงถือเป็นกลยุทธิ์หลักทางธุรกิจอย่างหนึ่ง การพัฒนาระบบไอที มักจะมองว่าเป็นการทำงานโดยอาศัยความรู้และศักยภาพของระบบซอร์ฟแวร์ ระบบเซิฟเวอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบสำรองข้อมูลเป็นหลัก การทำ Data Center ให้ดีจะรองรับการขยายตัวหรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ IT ในอนาคตได้อย่างน้อย 10 ปี โดยไม่ต้องปวดหัวกับการจัดพื้นที่ หรืออุปกรณ์ใหม่ ไม่อยากให้เสียน้อยเสียมากเสียยากเสียง่าย
ด้านกายภาพ
ดาต้าเซนเตอร์ สามารถอยู่ในห้องเพียงห้องเดียว พื้นที่ 1 ชั้น หรือหลายชั้นของตึก ๆหนึ่ง หรือ อาจมีขนาดใหญ่เท่ากับตึก 1 ตึกก็ได้ โดยมากอุปกรณ์เหล่านี้จะอยู่ในรูปของแร็คเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีความสูง 19 นิ้ว เซิร์ฟเวอร์จะมีขนาดแตกต่างกันจาก 1 U จนถึงขนาดยักษ์ กินเนื้อที่มหาศาล โดย 1 U จะแทนด้วยแร็ค 1 ยูนิต โดย 1 ยูนิตมีขนาดสูง 1.75 นิ้ว (44.49 mm) ซึ่งขนาดดังกล่าวเชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งแวดล้อมของดาต้าเซ็นเตอร์จะต้องมีดังต่อไปนี้• แอร์คอนดิชั่น (Air conditioning) ติดตั้งไว้เพื่อให้ห้องดังกล่าวมีความเย็น ใช้ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ 20 – 22 องศาเซลเซียส
• ระบบสำรองไฟฟ้า (Backup Power) เพื่อสำรองระบบไฟฟ้าไม่ให้กระแสไฟฟ้าหยุดชะงักลง โดยจะต้องมีเครื่องปั่นไฟ (Power Diesel generators) ทำหน้าที่ปั่นไฟด้วย
• การป้องกันปัญหา Single Points Failure ซึ่งปัญหานี้อาจจะเกิดขึ้นได้หากมีอุปกรณ์หลักเพียงอันเดียว เช่น มีเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว หรือสวิตซ์(Switch) หลักเพียงเครื่องเดียว อุปกรณ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าทั้งหมด ควรจะมี 2 ชุด เป็นระบบสำรองแบบ Fully Duplicated มีการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าเป็น 2 สาย คือ A-side และ B-side
• ห้องดาต้าเซ็นเตอร์ จะต้องมีพื้นยกสูงจากพื้นระดับปกติ 60 เซนติเมตร (2 ฟุต) เพื่อระบบระบายอากาศให้เครื่องปรับอากาศเป่าลมจากด้านล่างของพื้นขึ้นสู่ด้านบน เพื่อให้มีช่องว่างสำหรับเดินสายไฟลอดใต้พื้น ดาต้าเซ็นเตอร์บางแห่งที่มีทุนน้อยหรือมีขนาดเล็ก อาจใช้พื้นชนิดป้องกันกระแสไฟฟ้าสถิต เป็นวัสดุสำหรับปูพื้นแทนได้
• ดาต้าเซ็นเตอร์ จะต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัย ซึ่งสามารถแจ้งเตือนได้หากเกิดความร้อน หรืออัคคีภัยขึ้น สารที่ใช้ดับไฟ ไม่ควรเป็นน้ำเพราะจะสร้างความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ ควรเป็นก๊าซเช่น ก๊าซฮาลอน(Halon) ซึ่งไม่สร้างความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้า แต่เนื่องจากก๊าซดังกล่าวได้ทำลายบรรยากาศ ดังนั้นปัจจุบันจึงได้ใช้ก๊าซชนิดอื่นแทน เช่น Argonite และ FM-200 เป็นต้น
• ความปลอดภัยทางด้านกายภาพอื่น ๆ เช่น กล้องวีดีโอและระบบจัดเก็บภาพ ใช้เพื่อจับภาพผู้บุกรุกเข้าสู่ห้องดาต้าเซ็นเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต
ด้านเครือข่าย
การสื่อสารในปัจจุบันภายในดาต้าเซ็นเตอร์จะเป็นลักษณะของโพรโทคอลไอพี (IP protocol) ภายในดาต้าเซ็นเตอร์ประกอบด้วยเราเตอร์(Routers) และ สวิตซ์(Switch) จำนวนหนึ่ง ในการนำข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ออกสู่ภายนอก ดังนั้นจึงต้องมีการระวังด้านความปลอดภัยของระบบเครือข่ายด้วย ซึ่งในดาต้าเซ็นเตอร์จะประกอบไปด้วย ไฟร์วอลล์(Firewalls) วีพีเอ็น(VPN) ไอดีเอส(Intrusion detection systems) เพื่อทำหน้าที่ระวังป้องกันการบุกรุกและโจรกรรมจากภายในและภายนอกองค์กร
ด้านแอพลิเคชั่น
วัตถุประสงค์หลักของดาต้าเซ็นเตอร์คือ ใช้ปฏิบัติงานแอพลิเคชั่นด้านต่าง ๆ ขององค์กร โปรแกรมที่ใช้งานจะแตกต่างกันไปตามองค์กรแต่ละแห่ง บางแห่งมีทีมพัฒนาเอง บางแห่งอาจซื้อจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ โดยทั่วไปแอพลิเคชั่นจะประกอบด้วย ระบบที่เรียกว่า ERP และ CRM ซึ่งประกอบด้วยหลาย ๆ เซิร์ฟเวอร์โฮสต์ แต่ละโฮสต์จะทำงานโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งเช่น ด้านฐานข้อมูล(Data Base) ด้านไฟล์เซิร์ฟเวอร์(File Server) แอพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์ มิดเดิลแวร์(Middleware) เป็นต้น
สำหรับวิธีการต่างๆสำหรับการใช้ประโยชน์จากดาต้า เซ็นเตอร์ ที่มากกว่า ด้วยการลงทุนที่น้อยที่สุด ซึ่งนี่คือข้อแนะนำ 10 ข้อแรกที่สำคัญที่สุดจากพวกเขา
1. ปกป้องที่มั่นของคุณ - มันอาจจะยากสำหรับการดำเนินธุรกิจในสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีการลงทุนใน Precision Air และ Backup Power สามารถที่จะ “ประหยัดเงิน” ตัวอย่างเช่น Precision Air สามารถปกป้องอุปกรณ์ในดาต้า เซ็นเตอร์ในขณะที่ Comfort Cooling แบบธรรมดาไม่สามารถทำได้ โดย Solution การสำรองพลังงานแบบ Double Conversion นั้นสามารถเพิ่มเสถียรภาพของระบบและทำให้มั่นใจว่าธุรกิจของคุณสามารถดำเนินไปได้ตลอด (Business Continuity)
2. เริ่มต้นจากจุดที่สำคัญที่สุด – การเพิ่มความหนาแน่นของระบบ (High Density) สามารถก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนในการที่จะสร้างผลผลิตโดยไม่ต้องมีการพัฒนาพื้นที่ใหม่ๆมากนัก จากการที่ต้นทุนของการลงทุนใช้สถาปัตยกรรมใหม่ที่มีความหนาแน่นสูงมีมูลค่าน้อยกว่าต้นทุนของอาคารสถานที่
3. ประเมินก่อนทำ – หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดคือการประเมินดาต้า เซ็นเตอร์ของคุณ โดยการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาจุดเปราะบางที่มีผลกระทบต่อเสถียรภาพจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนการใช้งบประมาณได้เป็นอย่างดี
4. เริ่มต้นจากห้องสู่แร็ค (Room to Rack) – แทนที่จะเป็นลักษณะใช้ห้องแบบธรรมดา แต่เป็นการผสมผสานอุปกรณ์ Enclosure ที่เปรียบเสมือนห้องคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมซึ่งจะช่วยให้เกิดโซลูชั่นในการประหยัดต้นทุนสำหรับการปกป้องอุปกรณ์ของคุณ
5. การต่อช่องเย็น (Cold Aisle) – เป็นรูปแบบที่ดีกว่าช่องร้อน (Hot Aisle) โดยตัวช่องเย็นสามารถให้ส่วนเย็นลดภาระและสามารถสร้างความเย็นที่เหมาะสมสำหรับการประหยัดต้นทุนพลังงานได้
6. หมั่นตรวจสอบการพยากรณ์อากาศ – ในบางพื้นที่ อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน (Economizers) สามารถอนุญาตให้ส่วนความเย็นจากข้างนอกเข้ามาทำความเย็นในดาต้า เซ็นเตอร์ได้ ในช่วงฤดูที่มีอากาศหนาว ซึ่งสามารถประหยัดต้นทุนที่เพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น
7. หมั่นเฝ้าดูเป็นประจำ (ถ้าคุณไม่สามารถทำได้ตลอด) – เฮ้! นี่ไม่ใช่การดูช่องกีฬา ESPN นะ! เพราะมันไม่ได้หมายถึงการจ้องดู แต่หากเป็นการเฝ้าดูประสิทธิภาพของระบบ ซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดค่าซ่อมบำรุงรักษาได้เป็นอย่างดี
8. พัฒนาการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด – ยังมีโอกาสมากมายที่สามารถพัฒนาการใช้พลังงานในดาต้า เซ็นเตอร์ ตัวอย่างเช่น การเพิ่ม Frequency Drives เข้าไปในระบบทำความเย็นเพื่อให้ลดภาระของการใช้พลังงาน โดยทุกๆการประหยัด 1 วัตต์ที่เกิดในระดับประมวลผล (Processor Level) จะทำให้เกิดการประหยัดพลังงาน 2.84 วัตต์ในระดับอาคารดาต้า เซ็นเตอร์ (Facility Level)
9. หลีกเลี่ยงปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุ – การป้องกันและบำรุงรักษาสามารถยืดอายุการใช้งานและลดต้นทุนการซ่อมบำรุงของอุปกรณ์ต่างๆ ตัวอย่างเช่นการบำรุงรักษาแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่องจะสามารถป้องการล่มของอุปกรณ์ UPS อันเนื่องมาจากแบตเตอรี่ที่เสียหายได้
10. อย่าหยุดคิดถึงวันข้างหน้า – ถึงแม้มันอาจจำเป็นที่จะต้องลดการใช้จ่าย แต่เราต้องมั่นใจว่าเราไม่ได้ลดประสิทธิภาพของระบบ การใช้โซลูชั่น UPS ที่ประหยัดต่อขนาดที่ได้รับความนิยมในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณความสามารถในการรองรับพื้นที่ในอนาคตที่ผิดพลาดได้เป็นอย่างดี
อ้างอิงจาก
· http://www.sitem.co.th/data-center-solution.html
· http://www.dcs.cmru.ac.th
· บทความ: 10 Ways to Get More from a Data Center with Less Money
ปณต กาญจนศูนย์
นักวิเคราะห์ธุรกิจและการตลาด
อิเมอร์สัน เนทเวอร์ค พาวเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
นักวิเคราะห์ธุรกิจและการตลาด
อิเมอร์สัน เนทเวอร์ค พาวเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด