Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Data Center

ระบบไอทีในปัจจุบันที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับธุรกิจขององค์กร ตั้งแต่งานระดับบุคคลไปจนถึงการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจ ทำให้งานไอทีเริ่มถูกมองเป็นระบบที่ใช้ลดต้นทุนและเพิ่มกำไรมากกว่าเป็นเพียงค่าใช้จ่ายธรรมดาเหมือนอย่างในอดีต
     การพัฒนาระบบไอทีขององค์กรในปัจจุบัน จึงถือเป็นกลยุทธิ์หลักทางธุรกิจอย่างหนึ่ง การพัฒนาระบบไอที มักจะมองว่าเป็นการทำงานโดยอาศัยความรู้และศักยภาพของระบบซอร์ฟแวร์ ระบบเซิฟเวอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบสำรองข้อมูลเป็นหลัก การทำ Data Center ให้ดีจะรองรับการขยายตัวหรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ IT ในอนาคตได้อย่างน้อย 10 ปี โดยไม่ต้องปวดหัวกับการจัดพื้นที่ หรืออุปกรณ์ใหม่ ไม่อยากให้เสียน้อยเสียมากเสียยากเสียง่าย
สำหรับหน่วยงานขนาดใหญ่ ทั้งภาครัฐและเอกชนมักจะมี Data Center เป็นของตนเองตั้งอยู่ภายในองค์กร ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยในการออกแบบและการปฏิบัติงานใน Data Center อยู่หลายปัจจัย เช่น ความพร้อมใช้งาน การบำรุงรักษา ความเหมาะสมในการลงทุน ความปลอดภัย การรองรับการขยายในอนาคต และที่สำคัญที่สุด คือ ความมีเสถียรภาพ เนื่องจาก Data Center ส่วนใหญ่ต้องให้บริการแบบไม่มีวันหยุด หรือแบบ 24x7 Service เสถียรภาพของ Data Center จึงเป็นสิ่งที่ต้องออกแบบได้อย่างถูกต้อง เพราะ สิ่งที่อยู่ใน Data Center ส่วนใหญ่ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server), เครื่องประมวลผลขนาดใหญ่ (Main frame), เครื่องบันทึกข้อมูล (Storage), อุปกรณ์เครือข่าย (Network switch), ข่ายสายสัญญาณ (Data cabling system) และอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ เรียกได้เลยว่า Data Center เป็นจุดศูนย์รวมของระบบ IT ขององค์กรก็ว่าได้ ด้วยความสำคัญดังกล่าว ทำให้องค์กรต้องคำนึงถึงการออกแบบ Data Center ให้เป็นไปอย่างรอบคอบ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สำหรับหน่วยงานภาครัฐมักจะติดปัญหาในเรื่องของความไม่แน่นอนของงบประมาณในการสร้างและพัฒนา Data Center ที่มักจะไม่สามารถขอได้ต่อเนื่องทุกปี ประกอบกับเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา ส่งผลอย่างมากต่อการวางแผน และการออกแบบ Data Center เพื่อเป็นการแก้ไขความไม่แน่นอนดังกล่าว จึงมักมีการออกแบบ Data Center ให้เกินความจำเป็นไว้ก่อน เพื่อกันงบประมาณครั้งละมากๆ ทดแทนกับความเสี่ยงที่จะไม่ได้งบประมาณต่อเนื่อง จึงเห็นได้ว่าจะมีการสร้าง Data Center เกินความจำเป็นตามงบประมาณที่ได้มามากกว่าการประเมินจากสภาพความเป็นจริงที่เหมาะสม และการออกแบบอย่าง optimize ให้เกิดการใช้งานเต็มประสิทธิภาพทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ และมีการใช้พลังงานในการปฏิบัติงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่มีดาต้าเซ็นเตอร์คือ หน่วยงานที่ต้องอาศัยข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญขององค์กร จะต้องมีดาต้าเซ็นเตอร์เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย ตัวอย่างองค์กร เช่น ธนาคารจะมีหน่วยงานดาต้าเซ็นเตอร์เป็นของตนเอง ข้อมูลที่เก็บรักษาจะประกอบด้วยบัญชีลูกค้า รายการเกี่ยวกับธุรกรรมด้านการเงิน ในเมืองใหญ่หลายแห่งได้สร้างดาต้า เซ็นเตอร์ไว้ในที่ปลอดภัย ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งให้บริการการสื่อสาร รวมถึงระบบสื่อสารอินเตอร์เน็ตรวมอยู่ในดาต้าเซนเตอร์นี้ด้วย
หลักการระบบ Data Center แบ่งออกเป็น
ด้านกายภาพ
ดาต้าเซนเตอร์ สามารถอยู่ในห้องเพียงห้องเดียว พื้นที่ 1 ชั้น หรือหลายชั้นของตึก ๆหนึ่ง หรือ อาจมีขนาดใหญ่เท่ากับตึก 1 ตึกก็ได้ โดยมากอุปกรณ์เหล่านี้จะอยู่ในรูปของแร็คเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีความสูง 19 นิ้ว เซิร์ฟเวอร์จะมีขนาดแตกต่างกันจาก 1 U จนถึงขนาดยักษ์ กินเนื้อที่มหาศาล โดย 1 U จะแทนด้วยแร็ค 1 ยูนิต โดย 1 ยูนิตมีขนาดสูง 1.75 นิ้ว (44.49 mm) ซึ่งขนาดดังกล่าวเชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งแวดล้อมของดาต้าเซ็นเตอร์จะต้องมีดังต่อไปนี้แอร์คอนดิชั่น (Air conditioning) ติดตั้งไว้เพื่อให้ห้องดังกล่าวมีความเย็น ใช้ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ 20 – 22 องศาเซลเซียส
 • ระบบสำรองไฟฟ้า (Backup Power) เพื่อสำรองระบบไฟฟ้าไม่ให้กระแสไฟฟ้าหยุดชะงักลง โดยจะต้องมีเครื่องปั่นไฟ (Power Diesel generators) ทำหน้าที่ปั่นไฟด้วย
 • การป้องกันปัญหา Single Points Failure ซึ่งปัญหานี้อาจจะเกิดขึ้นได้หากมีอุปกรณ์หลักเพียงอันเดียว เช่น มีเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว หรือสวิตซ์(Switch) หลักเพียงเครื่องเดียว อุปกรณ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าทั้งหมด ควรจะมี 2 ชุด เป็นระบบสำรองแบบ Fully Duplicated มีการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าเป็น 2 สาย คือ A-side และ B-side
ห้องดาต้าเซ็นเตอร์ จะต้องมีพื้นยกสูงจากพื้นระดับปกติ 60 เซนติเมตร (2 ฟุต) เพื่อระบบระบายอากาศให้เครื่องปรับอากาศเป่าลมจากด้านล่างของพื้นขึ้นสู่ด้านบน เพื่อให้มีช่องว่างสำหรับเดินสายไฟลอดใต้พื้น ดาต้าเซ็นเตอร์บางแห่งที่มีทุนน้อยหรือมีขนาดเล็ก อาจใช้พื้นชนิดป้องกันกระแสไฟฟ้าสถิต เป็นวัสดุสำหรับปูพื้นแทนได้
 • ดาต้าเซ็นเตอร์ จะต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัย ซึ่งสามารถแจ้งเตือนได้หากเกิดความร้อน หรืออัคคีภัยขึ้น สารที่ใช้ดับไฟ ไม่ควรเป็นน้ำเพราะจะสร้างความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ ควรเป็นก๊าซเช่น ก๊าซฮาลอน(Halon) ซึ่งไม่สร้างความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้า แต่เนื่องจากก๊าซดังกล่าวได้ทำลายบรรยากาศ ดังนั้นปัจจุบันจึงได้ใช้ก๊าซชนิดอื่นแทน เช่น Argonite และ FM-200 เป็นต้น
ความปลอดภัยทางด้านกายภาพอื่น ๆ เช่น กล้องวีดีโอและระบบจัดเก็บภาพ ใช้เพื่อจับภาพผู้บุกรุกเข้าสู่ห้องดาต้าเซ็นเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต

ด้านเครือข่าย
การสื่อสารในปัจจุบันภายในดาต้าเซ็นเตอร์จะเป็นลักษณะของโพรโทคอลไอพี (IP protocol) ภายในดาต้าเซ็นเตอร์ประกอบด้วยเราเตอร์(Routers) และ สวิตซ์(Switch) จำนวนหนึ่ง ในการนำข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ออกสู่ภายนอก ดังนั้นจึงต้องมีการระวังด้านความปลอดภัยของระบบเครือข่ายด้วย ซึ่งในดาต้าเซ็นเตอร์จะประกอบไปด้วย ไฟร์วอลล์(Firewalls) วีพีเอ็น(VPN) ไอดีเอส(Intrusion detection systems) เพื่อทำหน้าที่ระวังป้องกันการบุกรุกและโจรกรรมจากภายในและภายนอกองค์กร
ด้านแอพลิเคชั่น
 วัตถุประสงค์หลักของดาต้าเซ็นเตอร์คือ ใช้ปฏิบัติงานแอพลิเคชั่นด้านต่าง ๆ ขององค์กร โปรแกรมที่ใช้งานจะแตกต่างกันไปตามองค์กรแต่ละแห่ง บางแห่งมีทีมพัฒนาเอง บางแห่งอาจซื้อจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ โดยทั่วไปแอพลิเคชั่นจะประกอบด้วย ระบบที่เรียกว่า ERP และ CRM ซึ่งประกอบด้วยหลาย ๆ เซิร์ฟเวอร์โฮสต์ แต่ละโฮสต์จะทำงานโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งเช่น ด้านฐานข้อมูล(Data Base) ด้านไฟล์เซิร์ฟเวอร์(File Server) แอพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์ มิดเดิลแวร์(Middleware) เป็นต้น
สำหรับวิธีการต่างๆสำหรับการใช้ประโยชน์จากดาต้า เซ็นเตอร์ ที่มากกว่า ด้วยการลงทุนที่น้อยที่สุด ซึ่งนี่คือข้อแนะนำ 10 ข้อแรกที่สำคัญที่สุดจากพวกเขา
1.               ปกป้องที่มั่นของคุณ - มันอาจจะยากสำหรับการดำเนินธุรกิจในสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีการลงทุนใน Precision Air และ Backup Power สามารถที่จะ ประหยัดเงินตัวอย่างเช่น Precision Air สามารถปกป้องอุปกรณ์ในดาต้า เซ็นเตอร์ในขณะที่ Comfort Cooling แบบธรรมดาไม่สามารถทำได้ โดย Solution การสำรองพลังงานแบบ Double Conversion นั้นสามารถเพิ่มเสถียรภาพของระบบและทำให้มั่นใจว่าธุรกิจของคุณสามารถดำเนินไปได้ตลอด (Business Continuity)
2.               เริ่มต้นจากจุดที่สำคัญที่สุดการเพิ่มความหนาแน่นของระบบ (High Density) สามารถก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนในการที่จะสร้างผลผลิตโดยไม่ต้องมีการพัฒนาพื้นที่ใหม่ๆมากนัก จากการที่ต้นทุนของการลงทุนใช้สถาปัตยกรรมใหม่ที่มีความหนาแน่นสูงมีมูลค่าน้อยกว่าต้นทุนของอาคารสถานที่
3.               ประเมินก่อนทำหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดคือการประเมินดาต้า เซ็นเตอร์ของคุณ โดยการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาจุดเปราะบางที่มีผลกระทบต่อเสถียรภาพจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนการใช้งบประมาณได้เป็นอย่างดี
4.               เริ่มต้นจากห้องสู่แร็ค (Room to Rack)แทนที่จะเป็นลักษณะใช้ห้องแบบธรรมดา แต่เป็นการผสมผสานอุปกรณ์ Enclosure ที่เปรียบเสมือนห้องคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมซึ่งจะช่วยให้เกิดโซลูชั่นในการประหยัดต้นทุนสำหรับการปกป้องอุปกรณ์ของคุณ
5.               การต่อช่องเย็น (Cold Aisle)เป็นรูปแบบที่ดีกว่าช่องร้อน (Hot Aisle) โดยตัวช่องเย็นสามารถให้ส่วนเย็นลดภาระและสามารถสร้างความเย็นที่เหมาะสมสำหรับการประหยัดต้นทุนพลังงานได้
6.               หมั่นตรวจสอบการพยากรณ์อากาศในบางพื้นที่ อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน (Economizers) สามารถอนุญาตให้ส่วนความเย็นจากข้างนอกเข้ามาทำความเย็นในดาต้า เซ็นเตอร์ได้ ในช่วงฤดูที่มีอากาศหนาว ซึ่งสามารถประหยัดต้นทุนที่เพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น
7.               หมั่นเฝ้าดูเป็นประจำ (ถ้าคุณไม่สามารถทำได้ตลอด)เฮ้! นี่ไม่ใช่การดูช่องกีฬา ESPN นะ! เพราะมันไม่ได้หมายถึงการจ้องดู แต่หากเป็นการเฝ้าดูประสิทธิภาพของระบบ ซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดค่าซ่อมบำรุงรักษาได้เป็นอย่างดี
8.               พัฒนาการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดยังมีโอกาสมากมายที่สามารถพัฒนาการใช้พลังงานในดาต้า เซ็นเตอร์ ตัวอย่างเช่น การเพิ่ม Frequency Drives เข้าไปในระบบทำความเย็นเพื่อให้ลดภาระของการใช้พลังงาน โดยทุกๆการประหยัด 1 วัตต์ที่เกิดในระดับประมวลผล (Processor Level) จะทำให้เกิดการประหยัดพลังงาน 2.84 วัตต์ในระดับอาคารดาต้า เซ็นเตอร์ (Facility Level)
9.               หลีกเลี่ยงปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุการป้องกันและบำรุงรักษาสามารถยืดอายุการใช้งานและลดต้นทุนการซ่อมบำรุงของอุปกรณ์ต่างๆ ตัวอย่างเช่นการบำรุงรักษาแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่องจะสามารถป้องการล่มของอุปกรณ์ UPS อันเนื่องมาจากแบตเตอรี่ที่เสียหายได้
10.         อย่าหยุดคิดถึงวันข้างหน้าถึงแม้มันอาจจำเป็นที่จะต้องลดการใช้จ่าย แต่เราต้องมั่นใจว่าเราไม่ได้ลดประสิทธิภาพของระบบ การใช้โซลูชั่น UPS ที่ประหยัดต่อขนาดที่ได้รับความนิยมในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณความสามารถในการรองรับพื้นที่ในอนาคตที่ผิดพลาดได้เป็นอย่างดี

อ้างอิงจาก 
·       http://www.sitem.co.th/data-center-solution.html
·       http://www.dcs.cmru.ac.th
·       บทความ: 10 Ways to Get More from a Data Center with Less Money
ปณต กาญจนศูนย์
นักวิเคราะห์ธุรกิจและการตลาด
อิเมอร์สัน เนทเวอร์ค พาวเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

1 ความคิดเห็น: