Powered By Blogger

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แก้ไข เปรียบเทียบไฟล์ง่ายสะดวกด้วย WinMerge 
Winmerge โปรแกรมช่วยเปรียบเทียบไฟล์และโฟลเดอร์

Working Tips เอาวิธีแก้หนึ่งปัญหาที่น่ารำคาญใจเวลาทำงานมาฝากกัน โดยเฉพาะใครที่ต้องทำงานเกี่ยวกับเอกสารที่อาจจะต้องแก้แล้วแก้อีก หรือ ส่งให้ใครแก้ไข แต่พอเอากลับมาก็ต้องมาไล่เปรียบเทียบกันให้วุ่น!
WinMerge เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เราเปรียบเทียบ text file สองอัน โดยแสดงให้เห็นจุดที่แตกต่างกันด้วยการไฮไลท์สีแต่เดิมWinMerge ถูกใช้สำหรับการเปรียบเทียบ Source Code ของการเขียนโปรแกรม แต่ตอนนี้สามารถรองรับ text ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นได้ (เสียดายที่ยังไม่รองรับภาษาไทยค่ะ) นอกจาก text file แล้ว WinMerge ยังสามารถเปรียบเทียบระหว่างเนื้อหาในโฟลเดอร์สองอันได้ด้วย

บางครั้งที่ต้องเขียนงานภาษาอังกฤษ แล้วให้คนอื่นตรวจให้  แต่พอกลับมาต้องมาเปรียบเทียบว่าตรงไหนที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง  ถ้าจะต้องมาเริ่มอ่านใหม่แล้วเทียบทั้งหมดเอง ก็อาจจะเสียเวลา  หรือบางทีงานเดิมไฟล์เดิม ที่แก้แล้วแก้อีก หลายเวอร์ชั่นจนงงว่าอันไหนเป็นอันไหน แล้วต่างกันยังไง  WinMerge ก็จะมาช่วยให้เราสามารถประหยัดเวลาไปได้ค่ะ

ดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่
http://winmerge.org/?lang=en
พอเราดาวน์โหลดมาแล้ว ก็ทำการ Setup แล้วไปเริ่มลองใช้กันเลย!

จากนั้นก็ทำการเปิดโฟลเดอร์เลือก text file ที่ต้องการเปรียบเทียบ  พอเราเลือกไฟล์ที่ต้องการเปรียบเทียบมาไว้ด้านซ้ายและขวาแล้วก็คลิ๊ก OK
โปรแกรม WinMerge ก็จะทำการ เปิดไฟล์ทั้งคู่มาเปรียบเทียบกันให้  จากนั้นจะทำการไฮไลท์สีตรงจุดที่ไฟล์ทั้งสองแตกต่างกันทั้งสองด้านด้วยสีเหลือง ส่วนจุดที่ขาดตัวอักษรไป ก็จะไฮไลท์ด้วยสีเทา
น่าเสียดายมากๆ ที่ตอนนี้ WinMerge ยังไม่รองรับภาษาไทย (รองรับอังกฤษ, ญี่ปุ่น, จีน และ เกาหลี) แต่ถ้าสาวๆ คนไหนต้องทำงานเกี่ยวกับภาษาและการแปล WinMerge อาจจะกลายเป็นโปรแกรมในดวงใจเลยก็ได้ค่ะ

แหล่งอ้างอิง
FFmpeg บน Windows Server
                FFmpeg เป็นโปรแกรมหนึ่ง ที่มีความสามารถเกี่ยวกับ Video ในรอบด้าน โปรแกรมนี้มีลักษณะการทำงานแบบ command line ทำให้เราสามารถเรียกใช้โปรแรมนี้ผ่าน PHP ได้ตัวอย่างการใช้งานโปรแกรมนี้ที่เราค่อนข้างจะคุ้นเคยกันดี ก็คือการใช้งานในการแปลง VDO เป็น flv เนื่องจากไฟล์ VDO ในฟอร์แมต flv จะมีขนาดเล็กกว่าไฟล์นามสกุลอื่นเราก็จะใช้โปรแกรมนี้ในการแปลงไฟล์ที่เราอัปโหลดขึ้นไป เพื่อให้เป็นไฟล์ สกุล flv ซึ่งสามารถเปิดจาก player ที่เป็น flash เช่น YouTube ได้
การติดตั้ง FFmpeg เพื่อใช้งานบน Windows  XP
1. ดาวน์โหลด FFmpeg สำหรับ Windows ได้จากที่นี่ http://ffmpeg.arrozcru.org/builds/ เลือกเวอร์ชั่นล่าสุดมาเลย
 2. แตกไฟล์ออก ไฟล์ที่เราจะใช้คือ ffmpeg.exe ให้เรา copy ไฟล์นี้แล้วเอาไปวางไว้ที่ root ของ Server เช่น D:\htdocs\ffmpeg.exe จริงๆแล้วเราสามารถแตกไฟล์แล้ววางไว้ที่ไหนก็ได้นะครับ เพียงแต่ว่า ในตอนที่เราเรียกใช้ เราต้องอ้าง path ของโปรแกรม ให้ถูกต้องเท่านั้น

ตัวแปลงสัญญาณวิดีโอ VP8 รับการพัฒนาโดย On2 ซึ่งเป็น บริษัท เทคโนโลยีมัลติมีเดียที่ได้มาเมื่อเร็ว ๆ นี้โดย Googleที่ Google I / O นักพัฒนาการประชุมเมื่อเดือนที่แล้วซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ค้นหาปลดเปลื้อง VP8 ทรัพย์สินทางปัญญาและเปิดซอร์สโค้ดให้เจ้านายตัวแปลงสัญญาณฟรีสำหรับเว็บที่เหมาะกับการใช้งานอย่างแพร่หลายกับวิดีโอ HTML5 ที่ยึดตามมาตรฐานแต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าสถานะของ VP8 เป็นตัวแปลงสัญญาณสิทธิบัตรปราศจากภาระผูกพันจะทนต่อการพิจารณากฎหมาย
มันมีแนวโน้มที่ถอดรหัส VP8 พื้นเมืองของเราจะ (ครั้งที่ดีที่สุดอย่างถูกต้อง) ยังทำงานได้ดีขึ้นกว่า libvpx ของ Google,"เขาเขียน "รูปแบบที่นี่คือตั้งแต่ libXYZ แต่ละคนมีการพลิกโฉมล้อของตัวเองก็มักจะขาดการเข้าถึงด้านบน. ffmpeg มาใกล้เพียงเพราะล้อที่มีอยู่ของเราเป็นเหมือนสิ่งที่คุณต้องการต้องการบนรถสปอร์ตของคุณต่อไป."
สถานะปัจจุบันของการดำเนินงาน VP8 ffmpeg - based น่าประทับใจ Bultje กล่าวว่าผลของมันอย่างสมบูรณ์แบบที่ตรงกับการดำเนินงานของตัวเองของ Google ในทุกการทดสอบในคอลเลกชัน VP8 ทดสอบเวกเตอร์ นี้เป็นสัญญาณที่มีแนวโน้มว่าทั้งสองเข้ากันได้การใช้งาน นักพัฒนาตอนนี้มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพ

FFmpeg คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถบันทึกแปลงและสตรีมเสียงและวิดีโอดิจิตอลในรูปแบบหลาย. FFmpeg เป็นเครื่องมือบรรทัดคำสั่งที่ประกอบด้วยการเก็บรวบรวมซอฟต์แวร์ฟรี / ห้องสมุดโอเพ่นซอร์ส. รวม libavcodec เสียง / ห้องสมุดตัวแปลงสัญญาณวิดีโอใช้โครงการอื่นๆหลายและ libavformat เสียง / mux ภาชนะวิดีโอและห้องสมุด demux. ชื่อโครงการมาจากวิดีโอ MPEG กลุ่มมาตรฐานร่วมกับ "FF" สำหรับ "รวดเร็วส่ง". โลโก้ที่ใช้รูปแบบสลับฟันปลาที่จะแสดงว่าตัวแปลงสัญญาณวิดีโอ MPEG จัดการ entropy เข้ารหัส.

โครงการนี้เริ่มต้นจาก Fabrice Bellardการอ้างจำเป็น] (ใช้นามแฝงว่า "Gerard Lantau") และตอนนี้รักษาโดย Michael Niedermayer. พัฒนา FFmpeg หลายคนยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ MPlayer และ FFmpeg โฮสต์ที่เซิร์ฟเวอร์โครงการ MPlayer.

FFmpeg คือการพัฒนาภายใต้ GNU / Linux แต่สามารถเรียบเรียงภายใต้ระบบปฏิบัติการมากที่สุดรวมทั้งอิงค์ Apple Mac OS X, Microsoft Windows และ AmigaOS. ที่สุดแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์และไมโครโปรเซสเซอร์สถาปัตยกรรมชุดคำสั่งได้รับการสนับสนุนด้วยเช่น x86 (IA-32 และ x86-64), จ่ายต่อหนึ่งคลิก (PowerPC), แขน, ธ.ค. อัลฟา, SPARC และสถาปัตยกรรม MIPS.

รุ่นล่าสุด .5 ของ FFmpeg ถูกปล่อยแม้ว่าก่อนหน้านี้ FFmpeg พัฒนาได้แนะนำเสมอใช้ล่าสุดเป็นกลางสร้างจากแหล่งรหัสรุ่นโค่นล้มระบบการควบคุมของพวกเขาเป็นความพยายามในการพัฒนาในการรักษาเสถียรภาพทางไกล. เผยแพร่ภายใต้ GNU General Public License น้อยหรือ GNU General Public License (ขึ้นอยู่กับที่ย่อยห้องสมุดหนึ่งรวม) FFmpeg เป็นซอฟต์แวร์ฟรี.

มีสองตัวแปลงสัญญาณวิดีโอและภาชนะวิดีโออุปโลกน์หนึ่งในโครงการระหว่างการพัฒนาของ FFmpeg. ทั้งสองตัวแปลงสัญญาณวิดีโอเป็น FFV1 "lossless" และ lossless หรือ lossy "หิมะ codec" ที่ 1.0 รุ่นยังอยู่ในการพัฒนาและภาชนะวิดีโอ "ถั่ว" ซึ่งเป็นกำลังมีการพัฒนางาน.
http://www.cirtexhosting.com/ffmpeg-hosting.shtml

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

SciLab

โปรแกรม scilab ช่วยในการคำนวณ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ยัน ซับซ้อนแบบ advance
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเป็น ไปอย่างรวดเร็ว หลายๆ หน่วยงานในภาคการศึกษาได้มีการนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แ ละซอฟต์แวร์ต่างๆ มาช่วยในการเรียนการสอนและทำงานวิจัยของหลายๆ สาขาวิชาอย่างไรก็ตามโปรแกรม MATLAB เป็นโปรแกรมที่ต้องเสียเงินค่าลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ ซึ่งมีราคาแพงมาก ทำให้ผู้คนจำนวนมากเสียโอกาสที่จะศึกษาและเรียนรู้กา รใช้งานโปรแกรมนี้เพื่อ นำช่วยในการทำงานของตนเอง

โปรแกรมภาษา SCILAB เป็นโปรแกรมที่พัฒนาโดยกลุ่มของนักวิจัยจาก INRIA และ ENPC ในประเทศฝรั่งเศส โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ในการคำนวณเชิงตัวเลขและแสด งผลกราฟริกที่ซับซ้อน เช่นเดียวกับโปรแกรม MATLAB แต่โปรแกรม SCILAB เป็นโปรแกรมที่ให้ฟรี และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับโปรแกรม MATLAB ดังนั้นในปัจจุบันนี้หลายๆ หน่วยงานทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษาในต่างประเท ศได้เริ่มนำโปรแกรม SCILAB เข้ามาช่วยในการทำงานและช่วยในการเรียนการสอน ทั้งนี้เนื่องจากโปรแกรม SCILAB เป็นโปรแกรมที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไ ม่ต้องเสียเงินค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ โดยทั่วไปข้อดีของโปรแกรม SCILABสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

ง่ายต่อการเรียนรู้และทำความเข้าใจ 
ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมไม่ยุ่งยาก 
สามารถประมวลผลข้อมูลที่อยู่ในรูปเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic) และข้อมูลที่อยู่ในรูปของเมทริกซ์ (Matrix) ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 
มีฟังก์ชัน (Function) สำหรับการคำนวณทางคณิตศาสตร์จำนวนมากพร้อมใช้งาน 
มีกล่องเครื่องมือ (Toolbox) จำนวนมากที่ประกอบด้วยฟังก์ชันต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรม, วิทยาศาสตร์ และอื่นๆ 
สามารถพัฒนาฟังก์ชันใหม่ๆ ขึ้นมาใช้งานร่วมกับโปรแกรม SCILAB ได้ 
สามารถใช้งานร่วมกันกับโปรแกรมภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN), ภาษาซี (C) และภาษา MATLAB ได้ 
สามารถสร้างโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับทำซิมมูเลชันระบบ (System simulation) ได้ 
สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้เนื่องจากมีซ๊อสโค้ด (Source code), คู่มือการใช้งาน (Manual) และ On-line help ให้ 

สำหรับโปรแกรม SCILAB ที่ทางสถาบัน INRIA และ ENPC พัฒนาขึ้นมานี้สามารถนำไปใช้งานได้ในหลายระบบปฏิบัติ การเช่น ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux), ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows), ระบบปฏิบัติการ Solaris และระบบปฏิบัติการ HP-UX ยกเว้นระบบปฏิบัติการ Mac OS X ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Macintos

 
โครงสร้างพื้นฐานของโปรแกรม Scilab
                รูปที่ 3 เป็นโครงสร้างพื้นฐานภายใน Scilab ประกอบด้วย 4 ส่วน  ดังนี้



-                   ส่วนที่ 1 คือ โมดูลการทำงานระดับล่าง (Low level routines)  ซึ่งเป็นคำสั่งพื้นฐานที่อยู่ใน Scilab อยู่แล้ว เช่น การบวก, การลบ, การหาค่าสัมบูรณ์ เป็นต้น
-                    ส่วนที่ 2  คือ คลังโปรแกรม (Library) เป็นการนำคำสั่งพื้นฐานที่มีอยู่ในส่วนที่ 1 มาพัฒนาเป็นโมดูล
การทำงานต่าง ๆ  เช่น การคำนวณทางสถิติ หรือคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน นอกจากนี้ยังประกอบด้วยคลังโปรแกรมที่สนับสนุนในการเชื่อมต่อระหว่าง
Scilab กับโปรแกรมภายนอก  ในส่วนของการต่อประสาน (Interface) คือส่วนที่เรียกใช้คลังโปรแกรม ซึ่งแต่ละคลังโปรแกรมจะมีส่วนที่เชื่อมต่อเป็นของตนเองโดยเฉพาะ แยกจากคลังโปรแกรมอื่น ๆ  เช่น การหาค่าสัมบูรณ์เรียกใช้คำสั่ง abs(x)  เป็นต้น 
-                   ส่วนที่ 3 คือ ส่วนควบคุมการเรียกใช้ส่วนเชื่อมต่อกับคลังโปรแกรมให้มีลำดับการทำงานที่ถูกต้อง
(
Interface handling)
-                   ส่วนที่ 4 คือ ส่วนที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและแปลงคำสั่งของ Scilab เพื่อนำมาประมวลผล ประกอบด้วย Error handling, Variables handling, Interpreter และ System  ในกรณีที่มีการเรียกใช้โมดูลที่ไม่มีอยู่ในคลังโปรแกรม จะมีการส่งค่ากลับไปยัง Error handling เพื่อตรวจสอบ และแสดงผลความผิดพลาดนั้น
                จากโครงสร้างพื้นฐานในรูปที่ 3  แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาโมดูลการเชื่อมต่อและคลังโปรแกรมในแต่ละโมดูลเป็นอิสระต่อกัน ทำให้สามารถเพิ่มเติมโมดูลการทำงานแบบกระจายตามมาตรฐาน HLA ได้ในส่วนที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนของคลังโปรแกรม (Library) และการต่อประสาน (Interface) ที่ n+1 ตามเส้นประ

4.1 โครงร่าง HLA module บน Scilab
               การเพิ่มเติมโมดูลที่พัฒนาขึ้นจากโปรแกรมภายนอก ประกอบด้วยเกตเวย์ไฟล์ (gateway file)  คือ ส่วนที่พัฒนาจากภาษาซีเพื่อให้เรียกใช้คลังข้อมูลที่สามารถติดต่อกับ Scilab ได้ และไฟล์ดำเนินการ (operation file) คือ  ส่วนที่พัฒนาจากภาษาซีพลัสพลัสเพื่อให้เรียกใช้คลังข้อมูลที่สามารถติดต่อกับ RTI ได้   ดังรูปที่ 4
http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=91801

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Data Center

ระบบไอทีในปัจจุบันที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับธุรกิจขององค์กร ตั้งแต่งานระดับบุคคลไปจนถึงการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจ ทำให้งานไอทีเริ่มถูกมองเป็นระบบที่ใช้ลดต้นทุนและเพิ่มกำไรมากกว่าเป็นเพียงค่าใช้จ่ายธรรมดาเหมือนอย่างในอดีต
     การพัฒนาระบบไอทีขององค์กรในปัจจุบัน จึงถือเป็นกลยุทธิ์หลักทางธุรกิจอย่างหนึ่ง การพัฒนาระบบไอที มักจะมองว่าเป็นการทำงานโดยอาศัยความรู้และศักยภาพของระบบซอร์ฟแวร์ ระบบเซิฟเวอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบสำรองข้อมูลเป็นหลัก การทำ Data Center ให้ดีจะรองรับการขยายตัวหรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ IT ในอนาคตได้อย่างน้อย 10 ปี โดยไม่ต้องปวดหัวกับการจัดพื้นที่ หรืออุปกรณ์ใหม่ ไม่อยากให้เสียน้อยเสียมากเสียยากเสียง่าย
สำหรับหน่วยงานขนาดใหญ่ ทั้งภาครัฐและเอกชนมักจะมี Data Center เป็นของตนเองตั้งอยู่ภายในองค์กร ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยในการออกแบบและการปฏิบัติงานใน Data Center อยู่หลายปัจจัย เช่น ความพร้อมใช้งาน การบำรุงรักษา ความเหมาะสมในการลงทุน ความปลอดภัย การรองรับการขยายในอนาคต และที่สำคัญที่สุด คือ ความมีเสถียรภาพ เนื่องจาก Data Center ส่วนใหญ่ต้องให้บริการแบบไม่มีวันหยุด หรือแบบ 24x7 Service เสถียรภาพของ Data Center จึงเป็นสิ่งที่ต้องออกแบบได้อย่างถูกต้อง เพราะ สิ่งที่อยู่ใน Data Center ส่วนใหญ่ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server), เครื่องประมวลผลขนาดใหญ่ (Main frame), เครื่องบันทึกข้อมูล (Storage), อุปกรณ์เครือข่าย (Network switch), ข่ายสายสัญญาณ (Data cabling system) และอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ เรียกได้เลยว่า Data Center เป็นจุดศูนย์รวมของระบบ IT ขององค์กรก็ว่าได้ ด้วยความสำคัญดังกล่าว ทำให้องค์กรต้องคำนึงถึงการออกแบบ Data Center ให้เป็นไปอย่างรอบคอบ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สำหรับหน่วยงานภาครัฐมักจะติดปัญหาในเรื่องของความไม่แน่นอนของงบประมาณในการสร้างและพัฒนา Data Center ที่มักจะไม่สามารถขอได้ต่อเนื่องทุกปี ประกอบกับเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา ส่งผลอย่างมากต่อการวางแผน และการออกแบบ Data Center เพื่อเป็นการแก้ไขความไม่แน่นอนดังกล่าว จึงมักมีการออกแบบ Data Center ให้เกินความจำเป็นไว้ก่อน เพื่อกันงบประมาณครั้งละมากๆ ทดแทนกับความเสี่ยงที่จะไม่ได้งบประมาณต่อเนื่อง จึงเห็นได้ว่าจะมีการสร้าง Data Center เกินความจำเป็นตามงบประมาณที่ได้มามากกว่าการประเมินจากสภาพความเป็นจริงที่เหมาะสม และการออกแบบอย่าง optimize ให้เกิดการใช้งานเต็มประสิทธิภาพทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ และมีการใช้พลังงานในการปฏิบัติงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่มีดาต้าเซ็นเตอร์คือ หน่วยงานที่ต้องอาศัยข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญขององค์กร จะต้องมีดาต้าเซ็นเตอร์เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย ตัวอย่างองค์กร เช่น ธนาคารจะมีหน่วยงานดาต้าเซ็นเตอร์เป็นของตนเอง ข้อมูลที่เก็บรักษาจะประกอบด้วยบัญชีลูกค้า รายการเกี่ยวกับธุรกรรมด้านการเงิน ในเมืองใหญ่หลายแห่งได้สร้างดาต้า เซ็นเตอร์ไว้ในที่ปลอดภัย ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งให้บริการการสื่อสาร รวมถึงระบบสื่อสารอินเตอร์เน็ตรวมอยู่ในดาต้าเซนเตอร์นี้ด้วย
หลักการระบบ Data Center แบ่งออกเป็น
ด้านกายภาพ
ดาต้าเซนเตอร์ สามารถอยู่ในห้องเพียงห้องเดียว พื้นที่ 1 ชั้น หรือหลายชั้นของตึก ๆหนึ่ง หรือ อาจมีขนาดใหญ่เท่ากับตึก 1 ตึกก็ได้ โดยมากอุปกรณ์เหล่านี้จะอยู่ในรูปของแร็คเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีความสูง 19 นิ้ว เซิร์ฟเวอร์จะมีขนาดแตกต่างกันจาก 1 U จนถึงขนาดยักษ์ กินเนื้อที่มหาศาล โดย 1 U จะแทนด้วยแร็ค 1 ยูนิต โดย 1 ยูนิตมีขนาดสูง 1.75 นิ้ว (44.49 mm) ซึ่งขนาดดังกล่าวเชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งแวดล้อมของดาต้าเซ็นเตอร์จะต้องมีดังต่อไปนี้แอร์คอนดิชั่น (Air conditioning) ติดตั้งไว้เพื่อให้ห้องดังกล่าวมีความเย็น ใช้ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ 20 – 22 องศาเซลเซียส
 • ระบบสำรองไฟฟ้า (Backup Power) เพื่อสำรองระบบไฟฟ้าไม่ให้กระแสไฟฟ้าหยุดชะงักลง โดยจะต้องมีเครื่องปั่นไฟ (Power Diesel generators) ทำหน้าที่ปั่นไฟด้วย
 • การป้องกันปัญหา Single Points Failure ซึ่งปัญหานี้อาจจะเกิดขึ้นได้หากมีอุปกรณ์หลักเพียงอันเดียว เช่น มีเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว หรือสวิตซ์(Switch) หลักเพียงเครื่องเดียว อุปกรณ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าทั้งหมด ควรจะมี 2 ชุด เป็นระบบสำรองแบบ Fully Duplicated มีการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าเป็น 2 สาย คือ A-side และ B-side
ห้องดาต้าเซ็นเตอร์ จะต้องมีพื้นยกสูงจากพื้นระดับปกติ 60 เซนติเมตร (2 ฟุต) เพื่อระบบระบายอากาศให้เครื่องปรับอากาศเป่าลมจากด้านล่างของพื้นขึ้นสู่ด้านบน เพื่อให้มีช่องว่างสำหรับเดินสายไฟลอดใต้พื้น ดาต้าเซ็นเตอร์บางแห่งที่มีทุนน้อยหรือมีขนาดเล็ก อาจใช้พื้นชนิดป้องกันกระแสไฟฟ้าสถิต เป็นวัสดุสำหรับปูพื้นแทนได้
 • ดาต้าเซ็นเตอร์ จะต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัย ซึ่งสามารถแจ้งเตือนได้หากเกิดความร้อน หรืออัคคีภัยขึ้น สารที่ใช้ดับไฟ ไม่ควรเป็นน้ำเพราะจะสร้างความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ ควรเป็นก๊าซเช่น ก๊าซฮาลอน(Halon) ซึ่งไม่สร้างความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้า แต่เนื่องจากก๊าซดังกล่าวได้ทำลายบรรยากาศ ดังนั้นปัจจุบันจึงได้ใช้ก๊าซชนิดอื่นแทน เช่น Argonite และ FM-200 เป็นต้น
ความปลอดภัยทางด้านกายภาพอื่น ๆ เช่น กล้องวีดีโอและระบบจัดเก็บภาพ ใช้เพื่อจับภาพผู้บุกรุกเข้าสู่ห้องดาต้าเซ็นเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต

ด้านเครือข่าย
การสื่อสารในปัจจุบันภายในดาต้าเซ็นเตอร์จะเป็นลักษณะของโพรโทคอลไอพี (IP protocol) ภายในดาต้าเซ็นเตอร์ประกอบด้วยเราเตอร์(Routers) และ สวิตซ์(Switch) จำนวนหนึ่ง ในการนำข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ออกสู่ภายนอก ดังนั้นจึงต้องมีการระวังด้านความปลอดภัยของระบบเครือข่ายด้วย ซึ่งในดาต้าเซ็นเตอร์จะประกอบไปด้วย ไฟร์วอลล์(Firewalls) วีพีเอ็น(VPN) ไอดีเอส(Intrusion detection systems) เพื่อทำหน้าที่ระวังป้องกันการบุกรุกและโจรกรรมจากภายในและภายนอกองค์กร
ด้านแอพลิเคชั่น
 วัตถุประสงค์หลักของดาต้าเซ็นเตอร์คือ ใช้ปฏิบัติงานแอพลิเคชั่นด้านต่าง ๆ ขององค์กร โปรแกรมที่ใช้งานจะแตกต่างกันไปตามองค์กรแต่ละแห่ง บางแห่งมีทีมพัฒนาเอง บางแห่งอาจซื้อจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ โดยทั่วไปแอพลิเคชั่นจะประกอบด้วย ระบบที่เรียกว่า ERP และ CRM ซึ่งประกอบด้วยหลาย ๆ เซิร์ฟเวอร์โฮสต์ แต่ละโฮสต์จะทำงานโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งเช่น ด้านฐานข้อมูล(Data Base) ด้านไฟล์เซิร์ฟเวอร์(File Server) แอพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์ มิดเดิลแวร์(Middleware) เป็นต้น
สำหรับวิธีการต่างๆสำหรับการใช้ประโยชน์จากดาต้า เซ็นเตอร์ ที่มากกว่า ด้วยการลงทุนที่น้อยที่สุด ซึ่งนี่คือข้อแนะนำ 10 ข้อแรกที่สำคัญที่สุดจากพวกเขา
1.               ปกป้องที่มั่นของคุณ - มันอาจจะยากสำหรับการดำเนินธุรกิจในสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีการลงทุนใน Precision Air และ Backup Power สามารถที่จะ ประหยัดเงินตัวอย่างเช่น Precision Air สามารถปกป้องอุปกรณ์ในดาต้า เซ็นเตอร์ในขณะที่ Comfort Cooling แบบธรรมดาไม่สามารถทำได้ โดย Solution การสำรองพลังงานแบบ Double Conversion นั้นสามารถเพิ่มเสถียรภาพของระบบและทำให้มั่นใจว่าธุรกิจของคุณสามารถดำเนินไปได้ตลอด (Business Continuity)
2.               เริ่มต้นจากจุดที่สำคัญที่สุดการเพิ่มความหนาแน่นของระบบ (High Density) สามารถก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนในการที่จะสร้างผลผลิตโดยไม่ต้องมีการพัฒนาพื้นที่ใหม่ๆมากนัก จากการที่ต้นทุนของการลงทุนใช้สถาปัตยกรรมใหม่ที่มีความหนาแน่นสูงมีมูลค่าน้อยกว่าต้นทุนของอาคารสถานที่
3.               ประเมินก่อนทำหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดคือการประเมินดาต้า เซ็นเตอร์ของคุณ โดยการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาจุดเปราะบางที่มีผลกระทบต่อเสถียรภาพจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนการใช้งบประมาณได้เป็นอย่างดี
4.               เริ่มต้นจากห้องสู่แร็ค (Room to Rack)แทนที่จะเป็นลักษณะใช้ห้องแบบธรรมดา แต่เป็นการผสมผสานอุปกรณ์ Enclosure ที่เปรียบเสมือนห้องคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมซึ่งจะช่วยให้เกิดโซลูชั่นในการประหยัดต้นทุนสำหรับการปกป้องอุปกรณ์ของคุณ
5.               การต่อช่องเย็น (Cold Aisle)เป็นรูปแบบที่ดีกว่าช่องร้อน (Hot Aisle) โดยตัวช่องเย็นสามารถให้ส่วนเย็นลดภาระและสามารถสร้างความเย็นที่เหมาะสมสำหรับการประหยัดต้นทุนพลังงานได้
6.               หมั่นตรวจสอบการพยากรณ์อากาศในบางพื้นที่ อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน (Economizers) สามารถอนุญาตให้ส่วนความเย็นจากข้างนอกเข้ามาทำความเย็นในดาต้า เซ็นเตอร์ได้ ในช่วงฤดูที่มีอากาศหนาว ซึ่งสามารถประหยัดต้นทุนที่เพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น
7.               หมั่นเฝ้าดูเป็นประจำ (ถ้าคุณไม่สามารถทำได้ตลอด)เฮ้! นี่ไม่ใช่การดูช่องกีฬา ESPN นะ! เพราะมันไม่ได้หมายถึงการจ้องดู แต่หากเป็นการเฝ้าดูประสิทธิภาพของระบบ ซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดค่าซ่อมบำรุงรักษาได้เป็นอย่างดี
8.               พัฒนาการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดยังมีโอกาสมากมายที่สามารถพัฒนาการใช้พลังงานในดาต้า เซ็นเตอร์ ตัวอย่างเช่น การเพิ่ม Frequency Drives เข้าไปในระบบทำความเย็นเพื่อให้ลดภาระของการใช้พลังงาน โดยทุกๆการประหยัด 1 วัตต์ที่เกิดในระดับประมวลผล (Processor Level) จะทำให้เกิดการประหยัดพลังงาน 2.84 วัตต์ในระดับอาคารดาต้า เซ็นเตอร์ (Facility Level)
9.               หลีกเลี่ยงปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุการป้องกันและบำรุงรักษาสามารถยืดอายุการใช้งานและลดต้นทุนการซ่อมบำรุงของอุปกรณ์ต่างๆ ตัวอย่างเช่นการบำรุงรักษาแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่องจะสามารถป้องการล่มของอุปกรณ์ UPS อันเนื่องมาจากแบตเตอรี่ที่เสียหายได้
10.         อย่าหยุดคิดถึงวันข้างหน้าถึงแม้มันอาจจำเป็นที่จะต้องลดการใช้จ่าย แต่เราต้องมั่นใจว่าเราไม่ได้ลดประสิทธิภาพของระบบ การใช้โซลูชั่น UPS ที่ประหยัดต่อขนาดที่ได้รับความนิยมในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณความสามารถในการรองรับพื้นที่ในอนาคตที่ผิดพลาดได้เป็นอย่างดี

อ้างอิงจาก 
·       http://www.sitem.co.th/data-center-solution.html
·       http://www.dcs.cmru.ac.th
·       บทความ: 10 Ways to Get More from a Data Center with Less Money
ปณต กาญจนศูนย์
นักวิเคราะห์ธุรกิจและการตลาด
อิเมอร์สัน เนทเวอร์ค พาวเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด